วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ขันโตก เชียงใหม่ เชิญรับประทานอาหารขันโตกแบบล้านนา ที่ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

ขันโตก ดินเนอร์ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ให้บริการอาหารพื้นเมืองในรูปแบบขันโตก พร้อมชมการแสดงศิลปะอันสวยงามของล้านนา และรับประทานอาหารรสชาติดั้งเดิมของเมืองเหนือแท้ ๆ  ที่นี่ได้จัดเตรียมอาหารพื้นเมืองไว้คอยบริการท่าน สำหรับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารอิสลามและอาหารอื่น ๆ สามารถแจ้งล่วงหน้าได้เพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการบริการ การแสดงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแสดงพื้นเมืองและการแสดงชาวเขา ที่นี่เริ่มเสิร์ฟอาหาร เวลา 19.00 น.  การแสดงเริ่ม 20.00 น.  และมีบริการรถรับ-ส่งถึงโรงแรม



ขันโตก เชียงใหม่ ที่ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

เชิญรับประทานอาหารขันโตกแบบล้านนา ที่ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

การรับประทานอาหารขันโตกที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

การนั่งรับประทานอาหารขันโตก ให้นั่งกับพื้นล้อมวงขันโตก ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงสำหรับชาวต่างประเทศที่นั่งกับพื้นไม่ถนัด โดยการยกขันโตกวางบนโต๊ะ และนั่งเก้าอี้ ขันโตกมี 2 แบบ คือมีขา และไม่มีขา

รายการอาหารที่เสิร์ฟในขันโตกของศูนย์วัฒนธรรม จะมีทั้งหมด 7 อย่าง ซึ่งอาหารบางอย่างได้มีการดัดแปลงรสชาดให้เหมาะสมกับชาวต่างประเทศ  ประกอบไปด้วย

1. แกงฮังแล

2. น้ำพริกหนุ่ม    

3. น้ำพริกอ่อง

4. แคบหมู

5. ผักสด            

6. ผัดผัก

7. หมี่กรอบ

8. กระบองทอด (ฟักทองทอด)

หลังจากนั้น จะเสิร์ฟชาร้อน/กาแฟร้อน ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น) และผลไม้สดตามฤดูกาล

อาหารแบบขันโตก ที่ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

การรับประทานอาหารแบบขันโตก ที่ ศูนย์วัฒนธรรม เชียงใหม่

รับประทานอาหาร พร้อมชมการแสดง


การแสดงชาวเขา ของ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

ชาวเขาในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย คือ ชาวลาหู่ อาข่า ลีซู ม้ง เมี่ยน เริ่มอพยพมาจากจีนตอนใต้เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อ 150 ปีมาแล้ว ด้วยเหตุผลทางการเมืองและสงคราม ชาวเขาเหล่านี้มีวัฒนธรรมประเพณี อันมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีเครื่องแต่งกายอันสวยงามแปลกตา การละเล่นเต้นรำประกอบเทศกาลที่น่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งในปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง ศูนย์วัฒนธรรมจึงได้รวบรวมชาวเขาเผ่าต่างๆ มาทำการแสดงให้ได้ชมทุกคืน เพื่อเป็นการสืบทอดการแสดงประจำเผ่าของชาวเขาเหล่านี้ต่อไป

1.เผ่าลาหู่ ลาหู่(มูเซอ) ในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ ลาหู่นะ(มูเซอดำ) หู่หญี(มูเซอแดง) ซึ่งแยกตัวจากลาหู่นะ ลาหู่แสแล และลาหู่สุญี(มูเซอเหลือง) นักมนุษย์วิทยาพอลและอีเลน สวิส ได้วิเคราะห์วัฒนธรรมของคนลาหู่แล้วได้ลงความเห็นว่า คนลาหู่มีความเชื่อและต้องการที่จะรับพรมากกว่าเผ่าอื่น ซึ่งอาจเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้พวกลาหู่นะ (มูเซอดำ) ซึ่งเต้นรำให้ท่านชมอยู่นี้กลายเป็นคริสเตียนไปหมด และลาหู่หญี(มูเซอแดง) เชื่อมันในศาสนาผีบุญ

2.รำนกกิงกะลา เป็นการฟ้อนรำของชาวไทยใหญ่ คำว่ากิงกะลาเพี้ยนมาจาก “กิน-นะ-รา) การรำนกนี้มักจะมีในเทศกาลวันเพ็ญเดือนสิบสอง และเวลามีการแห่ครัวทาน (มีแต่ในภาคเหนือ คล้ายผ้าป่าถวายแต่ของกินและเครื่องใช้ไม่ถวายเครื่องนุ่งห่ม)

3.เผ่าม้ง ม้งหรือแม้วเป็นกลุ่มย่อยของคนเมี้ยว กลุ่มอื่นมี มูมองและมาว มีแต่คนม้งเท่านั้นที่อพยพมาเมืองไทย ส่วนคนกลุ่มอื่นที่ยังอยู่ในเมืองจีน ม้งในประเทศไทยยังแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ ม้งเขียว(ม้งจั้ว) ซึ่งผู้หญิงของพวกเขาเหล้าผมมวยใหญ่และนุ่งกระโปรงพลีท กับม้งขาว(ม้งด๊าว) ผู้หญิงพวกเขาใส่กางเกงและโพกผม ม้งเป็นชาวเขาเผ่าเดียวที่รู้ยักใช้ปาเต๊ะทำลวดลายบนเสื้อผ้า คนม้งอยู่ในเมืองจีนมาก่อนคนจีนตามแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียว แต่ได้ถอยร่นหนีคนจีนลงมาทางตอนใต้ จึงทำให้พวกเขาต้องการอิสรภาพจากอิทธิพลภายนอกมาก

4.เผ่าเมี่ยน เมี่ยนไม่มีการแยกเป็นกลุ่มย่อย แต่ตัวเองเป็นกลุ่มย่อยของเย้า กลุ่มย่อยอื่นมี ปู้นู๋ อิ่วเหงี่ยน และลักเขีย ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองจีน รวมทั้งคนเมี่ยนบางส่วนด้วย เมี่ยนเป็นชาวเขาเผ่าเดียวที่มีตัวหนังสือใช้มาหลายร้อยปี โดยการยืมเอาอักษรจีนมาเขียนในภาษาของพวกเขา เพื่อจารึกพิธีทางศาสนาเต๋าโบราณ จดประวัติของตระกูล และใช้เขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ และจดหมาย นอกจากนี้คนเมี่ยนยังชอบเอาเด็กเผ่าอื่น ไทยใหญ่และไทยมาเลี้ยงเป็นลูกโดยให้ความรักเสมอภาคเทียบเท่าลูกจริง ๆ ของตนเอง เด็กพวกนี้เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นคนเมี่ยนโดยสมบูรณ์ เป็นกำลังทำงานอีกกำลังหนึ่ง มากกว่า 10% ของจำนวนประชากรเมี่ยน เป็นลูกเลี้ยง พวกเมี่ยนถือเรื่องการวางตัว ที่เหมาะสมว่าสำคัญมาก ดังนั้นเมื่อมีงานสังคมพวกเขาจึงไม่ชอบการเต้นรำเพื่อความรื่นเริง แต่จะชอบคุยกันและเล่านิทานมากกว่า จะเต้นรำก็เพื่อพิธีทางศาสนาเท่านั้น

5.ฟ้อนมองกาก ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทยใหญ่ มอง แปลว่า ฆ้อง กาก แปลว่า ไม้คนข้าว รวมกันแล้วมองกาก คือการเอาไม้ไผ่มาตีกันให้เกิดจังหวะ มีทั้งหมด 3 จังหวะ คือ เสียงกลองยาว เสียงกลอง มองเชิง และเสียงนกโพระดก

6.เผ่าลีซู ลีซู(ลีซอ) มีอยู่ 2 กลุ่ม ลีซอดำอาศัยอยู่ในจีนและพม่า ชอบแต่งตัวสีมืด ส่วนลีซูดอกอาศัยอยู่ในประเทศไทย ชอบแต่งตัวสีสดและชอบแข่งขันกันเป็นเอก ทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเขา เพื่อน ญาติ หมู่บ้าน และสมบัติของเขาต้องดีกว่า เหนือกว่าคนอื่น จึงทำให้เครื่องแต่งตัวของผู้หญิงลีซูดอกสวยขึ้น และมีต่อเติมเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อแต่งตัวเต็มที่แล้ว เครื่องเงินจะหนักถึง 2 กก. ลีซูเป็นเผ่าที่ไม่กลัวใครและชอบลองของใหม่มากที่สุด นอกจากนี้พวกเขายังชอบเรียนรู้ภาษาอื่นด้วยเพราะภาษาลีซูเป็นภาษาที่ยากเกินกว่าคนเผ่าอื่นจะมาหัดพูด

7.รำดาบไฟ ใช้รำปลุกขวัญทหารก่อนออกรบในสมัยโบราณ

8.เผ่าอาข่า วัฒนธรรมของคนอาข่า(อีก้อ) ทำให้พวกเขามองชีวิตของคนในเผ่าเป็นการต่อเนื่องกัน เด็กเกิดมาเป็นประกันว่าเผ่าจะไม่สูญพันธุ์ พอโตขึ้นกลายเป็นผู้สร้างเผ่าและเป็นผู้รักษา “วีถีชีวิตอาข่า” ในที่สุดก็ตาย และกลายเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานต่อไป กฎต่าง ๆ เหล่านี้ครอบคลุมทุกคนในเผ่าตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแนวทางสอนและแนะนำทุกคนในเรื่องของกฎหมายของเผ่า ประเพณี ศาสนา ยาและการรักษาโรค กสิกรรม สถาปัตยกรรม การตีเหล็กและการทำของเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำเพราะพวกเขาไม่มีตัวหนังสือใช้ “วิถีชีวิตอาข่า” ได้ถูกแต่งเป็น ร้อยกรองในภาษาของเขายาวกว่าหมื่นบรรทัด

ผู้หญิงอาข่าในเมืองไทยแต่งตัวเป็น 3 แบบ คือ อูโล้ แต่งโดยพวกที่อยู่ในเมืองไทยมานานแล้ว หล่อมิ แต่งโดยพวกที่เพิ่งย้ายมาจากพม่า ผาหมี แต่งโดยผู้หญิงในตระกูลหม่องโปเท่านั้น ผู้แสดงของเราแต่งแบบ อูโล

คนแต่งงานแล้วสวมหมวกทรงสูง(อูเชอะ) ส่วนคนที่เป็นโสดและเด็กสวมหมวกทรงต่ำ(อูโกะ)

9.รำฝัดข้าว เป็นการฟ้อนรำของชาวนาในประเทศไทย เพื่อเฉลิมฉลองรื่นเริงในปีที่เก็บเกี่ยวข้าวได้อุดมสมบูรณ์ เครื่องแต่งกายเลียนแบบเครื่องแต่งกายของชาวนาในชนบทของจังหวัดเชียงใหม่

การแสดงชาวเขา ของ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ บริการ ขันโตกดินเนอร์ พร้อม การแสดง

การแสดงฟ้อนรำล้านนาในศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

การฟ้อนรำเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของล้านนา ที่แสดงออกถึงลักษณะนิสัยความอ่อนน้อม และละมุนละไมในการดำเนินชีวิตภายใต้ความเชื่อ ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา

ฟ้อนล้านนา มีต้นกำเนิดมาจากการร่ายรำเพื่อประกอบพิธีกรรม ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดความพึงพอใจ ท่วงท่าการรำแต่ดั้งเดิม ไม่มีแบบแผน แต่แสดงออกมาจากความปลื้มปิติยินดี มีความสุขสนุกสนานเจือปนอยู่ เช่น ฟ้อนผี ฟ้อนแห่ครัวทาน เป็นต้น ต่อมาในราวรัชกาลที่ 6 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้รวมท่าฟ้อนรำพื้นเมืองมาเรียบเรียงให้มีแบบแผน และกลายเป็นชุดฟ้อนที่รู้จักกันในปัจจุบัน ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแสดงเหล่านี้ จึงได้นำมาเป็นการแสดงสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีฟ้อนรำของท้องถิ่นอื่นๆ ในล้านนาด้วย มีทั้งหมด 13 การแสดงดังนี้

1.ฟ้อนเล็บ
เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของนาฏศิลป์ล้านนา ซึ่งมักจะแสดงในโอกาสพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติหรือฟ้อนสมโภชในทางพุทธศาสนา ท่าเดินของฟ้อนเล็บนี้ถือกันว่าได้เลียนแบบมาจากการเยื้องย่างของช้าง แต่เดิมการฟ้อนเล็บนี้ไม่มีท่ารำเฉพาะแน่นอน พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามและมีท่ารำเฉพาะแน่นอน

2.ฟ้อนดาบ
เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการแสดงชั้นเชิงของการต่อสู้รวมกับท่าฟ้อนที่สวยงาม

3.ฟ้อนสาวไหม
เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและ
รวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกันในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียวขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง การฟ้อนของทางศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เป็นการรวบรวมท่ารำที่สวยงามของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน

4.ระบำไก่
เป็นระบำชุดหนึ่งจากละครเรื่องพระลอตามไก่ เป็นการร่ายรำของบริวารของไก่แก้ว พระราชชายาได้ทรงคิดท่ารำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกู่ (ที่บรรจุอัฐิ) ของเจ้านายเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2452 ที่ท่านทรงนำมารวบรวมไว้ที่วัดสวนดอก จากงานพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงประทานให้แก่ท่าน

5.ฟ้อนเงี้ยว
เป็นการฟ้อนของเมืองเหนือ ที่ได้ดัดแปลงมากจากการละเล่นของไทยใหญ่ (เงี้ยว) ต่อมาครูช่างฟ้อนในคุ้มหลวงเชียงใหม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามขึ้น

6.ระบำซอ
ได้ถูกแต่งและประดิษฐ์จากครูเพลงและครูช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าดารารัศมีในปี พ.ศ. 2470 ใช้ฟ้อนในโอกาสที่ถวายต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเชียงใหม่ และในโอกาสสมโภชน์ช้างเผือกซึ่งน้อมเกล้าฯถวายให้ท่าน การแต่งกายเป็นชุดกระเหรี่ยง

7.ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
เป็นการฟ้อนผสมระหว่างการฟ้อนในราชสำนักพม่าและรำไทยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงให้ครูช่างฟ้อนชาวพม่าและครูช่างฟ้อนในวังของท่านคิดท่ารำขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. 2458-2469 เครื่องแต่งกายเป็น
แบบหญิงในราชสำนักพม่า ราชวงศ์คองบอง

8.ฟ้อนลื้อ
การฟ้อนนี้เดิมเป็นการฟ้อนของชาวไทยลื้อ หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บรรพบุรุษของชาวไทยลื้อนี้เดิมเป็นพวกอพยพสงครามจากแคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนานของจีน ชาวไทยลื้อเหล่า
นี้หลบหนีการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าสิบสองปันนาและหลานชายซึ่งสู้รบกันในระหว่างปี พ.ศ.2365-2366 แตกต่างจากบรรพบุรุษของชาวไทยลื้อกลุ่มอื่นในทางตอนเหนือของประเทศไทยซึ่งอพยพมาก่อนหน้านี้ประมาณ 22 ปี ในฐานะเชลยสงคราม บางพวกก็ถูกชักชวนให้มาตั้งถิ่นฐานใหม่

9.ฟ้อนโยคีถวายไฟ
เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2454-2482) เจ้าครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายได้ทรงให้นักดนตรีในวังของท่านและครูช่างฟ้อนชาวพม่าร่วมกันคิดท่ารำและบทเพลงขึ้นมาในโอกาสเสด็จประพาสเชียงใหม่ของกรมพระนครสวรรค์วรพินิจ โอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2465 ท่ารำได้ดัดแปลงมาจากท่าฤาษีดัดตน เดิมเป็นการแสดงของผู้ชาย ในปี พ.ศ. 2477  ได้เปลี่ยนให้เป็นท่ารำของผู้หญิง เนื่องจากช่างฟ้อนผู้ชายหายาก

10.ฟ้อนน้อยใจยา
เป็นฉากหนึ่งของละครเพลงชื่อเดียวกัน ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 โดยท้าวสุนทรโวหาร ถวายแก่เจ้าดารารัศมีในวันเกิดของท่าน ต่อมาเจ้าดารารัศมีได้ขัดเกลาบางตอนของละครและแต่งเพลงน้อยใจยาขึ้น ฉากนี้แสดงถึงน้อยใจยาชายหนุ่มผู้ยากจนได้ตัดพ้อต่อว่าแว่นแก้วสาวงามแห่งหมู่บ้าน ซึ่งจะแต่งงานกับส่างนันตาชายหนุ่มผู้ร่ำรวยแต่หน้าตาอัปลัษณ์ของอีกหมู่บ้านหนึ่ง แว่นแก้วบอกน้อยใจยาว่าเรื่องทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของเธอ แต่เป็นความเห็นชอบของบิดามารดาและได้ยืนยันความรักของเธอที่มีต่อเขา หลังจากปรับความเข้าใจกันแล้วก็พากันหนีไป

11.ฟ้อนเทียน
ใช้ฟ้อนในเวลากลางคืน ไม่สวมเล็บ แต่ถือเทียนสองข้างประกอบการฟ้อนพระราชชายาฯได้ทรงปรับปรุงขึ้นจากการฟ้อนเล็บ เพื่อจะฟ้อนรับเสด็จรัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประพาสเชียงใหม่ พ.ศ. 2469

12.ฟ้อนไต
ไตคือชื่อที่คนไทยใหญ่เรียกตัวเอง คนไทยใหญ่นี้นอกจากจะอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์แล้วยังอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย ฟ้อนไตได้ถูกคิดท่ารำโดยครูแก้วและนางละหยิ่น ทองเขียวผู้เป็นภรรยา ผู้ซึ่งเป็นคนไทยใหญ่ด้วย โดยในระหว่าง พ.ศ. 2483-97 ขณะที่ นางละหยิ่นได้อาศัยที่เชียงใหม่กับครูแก้ว นางได้เห็นการแสดงฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาและได้ประทับใจมาก เมื่อนางกับครูแก้วกลับไปอยู่แม่ฮ่องสอนแล้ว จึงได้คิดท่ารำของฟ้อนไตขึ้นจากท่ารำของรำไทย พม่า และฟ้อนเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2500

13.รำวง
เกิดจากรำโทนของนครพนมและได้แพร่หลายไปยังภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีคำสั่งให้กรมศิล์ปากรจัดท่ารำเป็นรำวงมาตรฐานขึ้น

การแสดงฟ้อนรำล้านนาในศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

การแสดง ของ ขันโตก ดินเนอร์ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

แผนที่ เบอร์โทรศัพท์ จอง ขันโตก ดินเนอร์ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ตั้งอยู่ริมถนนวัวลาย ในตัวเมืองเชียงใหม่ ใกล้เซ็นทรัลแอร์พอร์ตพลาซ่า



แผนที่ เบอร์โทรศัพท์ จอง ขันโตก ดินเนอร์ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่